คัดหนังสือรับรองเขตพระโขนง

เขตพระโขนง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จดทะเบียนบริษัทเขตพระโขนง  อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ รับจดทะเบียนบริษัทพระโขนง,จดห้างหุ้นส่วนจำกัดพระโขนง,รับจดห้างหุ้นส่วนจำกัด พระโขนง,ทำบัญชีพระโขนง,ทะเบียนบริษัทพระโขนง,ทะเบียนธุรกิจพระโขนง,รับตรวจบัญชีพระโขนง,จดทะเบียนบริษัทพระประแดง,จดทะเบียนบริษัทคลองเตย

บริการคัดหนังสือรับรองของเรา

  • บริการคัดหนังสือรับรองบริษัท
  • บริการคัดงบการเงิน
  • บริการคัดบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
  • บริการคัดหนังสือรับรองข้อความรับรองสำเนาของธุรกิจต่างด้าว
  • บริการคัดสำเนาเอกสารกิจการร่วมค้าและนิติบุคคลต่างประเทศ
  • บริการคัดหนังสือรับรองบริษัทภาษาอังกฤษ
  • บริการรับเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารทางราชการด้านการบัญชี
  • บริการคัดเอกสารอื่น

ราคาขึ้นอยู่กับเนื้องานเอกสารที่ต้องการจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ที่ตั้งและอาณาเขต
เขตพระโขนงตั้งอยู่ทางใต้ของฝั่งพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตคลองเตย เขตวัฒนา และเขตสวนหลวง มีแนวขอบทางซอยสุขุมวิท 52 (ศิริพร) ซอยสุขุมวิท 81 (ศิริพจน์) คลองบางนางจีน คลองขวางบน คลองสวนอ้อย แนวลำราง คลองบ้านหลาย ลำรางแยกคลองบ้านหลาย ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 41 (พัฒนพล) ซอยวชิรธรรมสาธิต 57 (สามพี่น้อง) และซอยวชิรธรรมสาธิต 57 แยก 36 (ยาจิตร์) เป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตสวนหลวงและเขตประเวศ มีคลองเคล็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางนา มีถนนอุดมสุข ซอยอุดมสุข 29 (พุทธวิถี 1) ซอยวชิรธรรมสาธิต 32 (จุฬา 4) ซอยสุขุมวิท 101/1 (วชิรธรรมสาธิต) และคลองบางอ้อเป็นเส้นแบ่งเขต
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพระประแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต

ประวัติ
เขตพระโขนงเดิมมีฐานะเป็น อำเภอพระโขนง เป็นเขตการปกครองของเมืองนครเขื่อนขันธ์ ปรากฏชื่อเท่าที่สืบค้นได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2445 (เมืองนครเขื่อนขันธ์เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพระประแดงในปี พ.ศ. 2457 และเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดพระประแดงในปี พ.ศ. 2459) ในสมัยแรกตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่สามแยกวัดมหาบุศย์ (บริเวณที่คลองตันบรรจบคลองพระโขนง) แบ่งท้องที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองเตย ตำบลคลองตัน ตำบลพระโขนง ตำบลสวนหลวง ตำบลศีรษะป่า (หัวป่า) ตำบลคลองประเวศ ตำบลทุ่งดอกไม้ ตำบลหนองบอน ตำบลบางจาก ตำบลบางนา ตำบลสำโรง และตำบลบางแก้ว จากนั้นจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่วัดสะพาน ริมทางรถไฟสายปากน้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2459

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2470 ทางราชการได้โอนอำเภอพระโขนงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครเพื่อความสะดวกในการปกครอง[4] ก่อนที่จังหวัดพระประแดงจะถูกยุบและแยกพื้นที่ไปรวมกับจังหวัดธนบุรีและจังหวัดสมุทรปราการ 5 ปี และเนื่องจากท้องที่อำเภอพระโขนงเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยหนาแน่น ในปี พ.ศ. 2479 ทางราชการจึงได้ตั้งเทศบาลนครกรุงเทพโดยโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลคลองเตยเข้าไปในท้องที่ และได้ขยายเขตเทศบาลออกไปครอบคลุมตำบลอื่น ๆ เกือบทั้งหมดในอำเภอภายในปี พ.ศ. 2507 ในช่วงนี้ที่ว่าการอำเภอพระโขนงได้ย้ายจากวัดสะพานมาตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิท (ที่ตั้งสำนักงานเขตปัจจุบัน) แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495

ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองท้องถิ่นแบบเทศบาลและสุขาภิบาล รวมทั้งเปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงด้วย อำเภอพระโขนงจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพระโขนง แบ่งออกเป็น 9 แขวงตามจำนวนตำบลที่มีอยู่เดิมก่อนการปรับปรุงรูปแบบการบริหารเมืองหลวง

ภายหลังเขตพระโขนงมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น ในปี พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตสาขาของเขตพระโขนงขึ้น 3 แห่งขึ้นดูแลท้องที่ต่าง ๆ เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และในปีเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยก็ได้ยกฐานะท้องที่ของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 1 และสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 2 เป็นเขตคลองเตยและเขตประเวศตามลำดับ (ส่วนท้องที่ของสำนักงานเขตพระโขนง สาขา 3 โอนไปเป็นของเขตประเวศจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 จึงแยกออกไปเป็นเขตสวนหลวง)

เมื่อปี พ.ศ. 2541 มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนงอีกครั้ง โดยแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากได้รับการยกฐานะเป็นเขตบางนา ท้องที่เขตพระโขนงจึงเหลือแขวงบางจากอยู่เพียงแขวงเดียว